วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2563

โรคระบาด Covid-19

 โรค Covid-19 

                Los Alamos National Lab: National Security Science

โรคCovid-19 คือโรคอะไร?

    โรคโควิด 19 คือโรคติดต่อซึ่งเกิดจากไวรัสโคโรนาชนิดที่มีการค้นพบล่าสุด ไวรัสและโรคอุบัติใหม่นี้ไม่เป็นที่รู้จักกันมาก่อน ซึ่งต้นกำเนิดแรกมีการระบาดในเมืองอู่ฮั่นประเทศจีนในเดือนธันวาคมปี2019 ขณะนี้โรคโควิด19 มีการระบาดใหญ่ไปทั่ว ส่งผลกระทบแก่หลายประเทศทั่วโลก


ที่มาของโรคCovid-19 

  • ต้นตอของไวรัสน่าจะมาจากการที่ไวรัสจากสัตว์ตัวกลางระบาดมาสู่คน 
  • ผู้ป่วยรายแรกเท่าที่ทราบกัน เริ่มมีอาการตั้งแต่วันที่1 ธันวาคม และไม่มี ความเชื่อมโยงกับตลาดต้องสงสัยในเมืองอู่ฮั่นประเทศจีน แต่ผู้ป่วยหลายรายอาจมีมาตั้งแต่ช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนหรือก่อนหน้านั้น 
  • มีการเก็บตัวอย่างจากสิ่งแวดล้อมในตลาดไปส่งตรวจและพบเชื้อไวรัส และพบมากที่สุดในบริเวณที่ค้าสัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยงในฟาร์ม 
  • ตลาดอาจเป็นต้นกําเนิดของไวรัส หรืออาจมีบทบาทในการขยายวงของการระบาดในระยะเริ่มแรก
COVID-19 คืออะไร เชื้อโคโรนาไวรัสมาจากไหน อันตรายยังไงบ้าง



โรคCovid-19 อาการเป็นอย่างไร?

อาการโควิด 19 เป็นอย่างไร ไขคำตอบเราติด COVID-19 ยังนะ ?

    โควิด-19 ส่งผลต่อผู้คนในรูปแบบที่แตกต่างกันไป ผู้ที่ติดเชื้อส่วนใหญ่จะมีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง และหายจากโรคได้เองโดยไม่ต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาล\


อาการทั่วไปมีดังนี้
  • มีไข้
  • ไอแห้ง
  • อ่อนเพลีย
  • อาการที่พบไม่บ่อยนักมีดังนี้
  • ปวดเมื่อยเนื้อตัว
  • เจ็บคอ
  • ท้องเสีย
  • ตาแดง
  • ปวดศีรษะ
  • สูญเสียความสามารถในการดมกลิ่นและรับรส
  • มีผื่นบนผิวหนัง หรือนิ้วมือนิ้วเท้าเปลี่ยนสี

อาการรุนแรงมีดังนี้
  • หายใจลำบากหรือหายใจถี่
  • เจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอก
  • สูญเสียความสามารถในการพูดและเคลื่อนไหว
    โปรดเข้ารับการรักษาทันทีหากมีอาการรุนแรง และติดต่อล่วงหน้าก่อนไปพบแพทย์หรือไปสถานพยาบาลเสมอ ผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงและไม่มีปัญหาสุขภาพอื่นๆ ควรรักษาตัวอยู่ที่บ้าน
โดยเฉลี่ยแล้วผู้ที่ติดเชื้อไวรัสจะแสดงอาการป่วยใน 5-6 วัน อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยอาจใช้เวลานานถึง 14 วันจึงจะแสดงอาการ


แนวทางการดำเนินการและการป้องกันของประเทศไทย

จุฬาฯ รู้สู้ COVID-19 – จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ข้อควรปฏิบัติและคําแนะนําสําหรับประชาชน
        • อยู่ในบ้าน ออกจากบ้านเมื่อมีเหตุจําเป็นเท่านั้น (เช่น เพื่อไปรับการรักษาพยาบาล หรือเพื่อไปซื้ออาหาร)
        • รักษาระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตรระหว่างตนเองและบุคคลอื่นตลอดเวลา
        • ล้างมือบ่อย ๆโดยเฉพาะหลังจากการสัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย หรือสิ่งที่อยู่รอบตัวผู้ป่วย เจลแอลกอฮอล์สําหรับล้างมือก็ใช้ได้ผล
        • อย่าสัมผัสดวงตา จมูก หรือปาก
        • หากไม่สบาย ให้สวมหน้ากากผ้าหรือกระดาษ แต่อย่าใช้หน้ากาก N95 เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่มีอยู่อย่างจํากัด และเป็นสิ่งจําเป็นอย่างยิ่งต่อบุคลากรด้านสาธารณสุข
        • ผู้ที่มีอาการควรปิดปากเมื่อไอหรือจามด้วยกระดาษทิชชูหรือผ้าแบบใช้แล้วทิ้ง และล้างมือบ่อย ๆ
        • อย่าจับมือ สวมกอด ใช้อุปกรณ์รับประทานอาหารหรืออุปกรณ์ในการสูบบุหรี่ร่วมกับผู้อื่น
        • หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับบุคคลที่แสดงอาการใด ๆ ก็ตามของการป่วยด้วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลัน
        • ทําความสะอาดพื้นผิวในบ้านที่มีการสัมผัสบ่อย ๆ ให้สะอาดอยู่เสมอ สามารถอ่านคําแนะนําเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติและการตกค้างของเชื้อไวรัสโรคซาร์สบนพื้นผิวในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้
         • ทางหน่วยงานรัฐบาลมีการประกาศให้ใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรค

กราฟแสดงแนวโน้มผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศไทย

        จากกราฟที่แสดงแนวโน้มผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในไทยปรากฏว่าในเดือนมีนามถึงเดือนสิงหาคมมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ต้นเดือนกันยายนเริ่มมีแนวโน้มการติดเชื้อเพิ่มขึ้น

วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2563

วิทยาการข้อมูล(data science)

 วิทยาการข้อมูล(data science)

    วิทยาการข้อมูลเป็นศาสตร์ที่เป็นการบูรณาการสถิติศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูล และการเรียนรู้ของเครื่องเข้าด้วยกันเพื่อให้สามารถเข้าใจและวิเคราะห์ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในข้อมูลได้ ใช้เทคนิคและทฤษฎีที่ได้มาจากคณิตศาสตร์ สถิติศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ และวิทยาการสารสนเทศ



เรามารู้จักกับประโยคที่ว่า DATA SCIENCE ศาสตร์ด้าน IT ที่เซ็กซี่ที่สุดในเวลานี้ กันดีกว่า!


แล้วสงสัยกันไหมว่าทำไมมันถึง “เซ็กซี่” ที่สุดในเวลานี้?

คำตอบก็คือว่า ในทุก ๆ วันมีข้อมูลไหลเวียนอยู่รอบตัวเราเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นภาพถ่าย วิดีโอ เพลง อีเมลข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลด้านการเงิน ข้อมูลด้านการตลาด ฯลฯ เรียกได้ว่าสาธยายทั้งวันก็ไม่หมด ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ถือว่าเป็น “สิ่งล้ำค่า” สำหรับภาคธุรกิจ ดังนั้นบริษัทใหญ่ ๆ จำนวนมาก จึงต้องการคนที่จะมาช่วยพวกเขาวิเคราะห์ข้อมูลพวกนี้ เพื่อให้ได้ข้อมูลบางอย่างออกมา เช่น พฤติกรรมการซื้อของชองลูกค้า ปัจจัยที่ส่งผลให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อ หรือเทรนด์ต่าง ๆ ที่มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และอื่น ๆ อีกมากมาย เป็นต้น ซึ่งแน่นอนว่าข้อมูลดังกล่าวนั้นเป็นประโยชน์ต่อบริษัทเป็นอย่างมากในการปรับกลยุทธ์ วางแผนการตลาด หรือการปรับปรุงการให้บริการ
โดยอาชีพที่จะมารับหน้าที่อันยิ่งใหญ่นี้มีคือ นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist) ซึ่งตอนนี้เรียกได้ว่า “เนื้อหอม” เอามาก ๆ เพราะคนที่มีความเชี่ยวชาญด้านดังกล่าวในปัจจุบันยังมีจำนวนค่อนข้างน้อย บริษัทต่าง ๆ จึงพร้อมที่จ่ายค่าจ้างที่สูง-สูงมาก เพื่อให้ได้คนเหล่านี้มาทำงานให้กับองค์กร

แล้วการเป็นนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist) ต้องมีความรู้อะไรบ้าง?


  • ใช้เครื่องมือพื้นฐานจำพวก R, Python และ SQL ได้
  • มีความเข้าใจพื้นฐานด้านสถิติ (Statistics)
  • เข้าใจการทำงานของ Machine Learning, Data Mining และ Big Data อย่างลึกซึ้ง
  • มีความสามารถในการหาตัวแปรค่าต่างๆ ในแคลคูลัส และเส้นแอลจีบร้า
  • แจกแจงและจำแนกข้อมูลได้ (Data Munging)
  • เข้าใจเรื่อง Data Visualization & Communication
  • มีความรู้ด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering)
  • คิดแบบนักวิทยาศาตร์ข้อมูลเป็น (Think Like A Data Scientist)
ที่มา 

Big Data

Big Data

➤ ความหมาย  

         Big Data คือ คำนิยามของข้อมูลขนาดใหญ่มาก ที่ฮาร์ดแวร์และซอร์ฟแวร์ธรรมดาไม่สามารถที่จะรองรับการเก็บข้อมูลหรือจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Big Data ใหญ่ขนาดไหน ความหมายของ “บิ๊กดาต้า” ที่องค์กรต้องรู้ ...

         ซึ่งอีกนัยนึง Big Data คือเทคโนโลยีและสถาปัตยกรรมหรือ Platform ไอทีรุ่นใหม่ ซึ่งอาจมาในรูปแบบซอฟต์แวร์ ที่สามารถรองรับการจัดเก็บ การจัดการ กรองเลือกข้อมูล การวิเคราะห์ แสดงผล และการใช้งานข้อมูลที่มีคุณลักษณะดังต่อไปนี้


➤ ลักษณะของ Big Data (4V)

How can big data turn into improved freight rates and better ...

        1. ที่มีปริมาณมาก (Volume) นั่นก็คือข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งรูปแบบ Online และ Offline ซึ่งส่วนมากแล้วจะมีปริมาณมากกว่าหน่วย TB (Terabyte) ขึ้นไป

        2. มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (Velocity) ส่งผ่านข้อมูล Update กันอย่างต่อเนื่อง (Real-time) จนทำให้การวิเคราะห์ง่ายๆแบบ Manual เกิดข้อจำกัด หรือไม่สามารถจับรูปแบบหรือทิศทางของข้อมูลได้
        3. หลากหลายประเภทหรือแหล่งที่มา (Variety) รูปแบบของข้อมูลที่แตกต่างกันออกไป ทั้งในรูปแบบ ตัวอักษร วิดีโอ รูปภาพ ไฟล์ต่างๆ และหลากหลายแหล่งที่มา
        4. ยังไม่ผ่านการประมวลผล (Veracity) ยังไม่ผ่านการ Process ให้อยู่ในรูปแบบของข้อมูลดิบ (Raw Data) ที่สามารถใช้สร้างประโยชน์ต่อองค์กรได้


➤ ความสำคัญ

ความสำคัญของ Big Data
   
        แท้จริงแล้วความสำคัญของ Big data ไม่ได้เกี่ยวข้องกับข้อมูลที่องค์กรของคุณมีอยู่ แต่เป็นสิ่งที่คุณสามารถใช้ข้อมูลเหล่านี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับองค์กรได้อย่างไร
        Big Data ช่วยให้คุณสามารถใช้ข้อมูลจากทุกแหล่งที่เป็นไปได้ และวิเคราะห์เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่คุณต้องการ ซึ่งช่วยให้คุณสามารถเข้าใจผู้บริโภคได้มากขึ้น (Customer Insight) ลดต้นทุนได้ ลดเวลาระยะเวลาดำเนินการ และสามารถตัดสินใจได้อย่างแม่นยำมากขึ้น



ยุค 5G/6G,lot,AI

ยุค 5G/6G,lot,AI

 ยุค5G


ประโยชน์ของ 5G

    สำหรับคุณสมบัติหลักเด่นชัดของ 5G ที่เห็นได้ชัดเลยคงเป็นเรื่องของคุณภาพการรับชมวีดีโอ หรือการเล่นเกมส์ออนไลน์ ที่ช่วยให้ผู้ใช้บริการได้สัมผัสกับคุณภาพความคมชัด และความรวดเร็วเทียบเท่ากับการใช้งานผ่านโครงข่ายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) หรือการที่สามารถทำงานและเข้าถึงข้อมูลทุกอย่างที่อยู่บน Cloud ไม่ว่าจะรูปแบบภาพ หรือวิดีโอ ได้แบบทันทีที่ต้องการ รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีให้มีความเร็วในการดาวน์โหลดและอัพโหลดที่สูงกว่าเทคโนโลยี 4G อีกด้วย 
    นอกจากนี้ เทคโนโลยี 5G ยังถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการเชื่อมต่อจำนวนมากๆ ผ่านอินเตอร์เน็ต หรือที่เรียกกันว่า IoT อาทิ รถยนต์ไร้คนขับ การผ่าตัดได้จากระยะไกล หุ่นยนต์ในโรงงาน สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานซึ่งถือว่ามีความเร็วมากกว่าเทคโนโลยี 4G เกิน 10 เท่า รวมถึงช่วยให้เกิดการใช้งาน AR และ VR ในกิจกรรมต่างๆ อาทิ การสำรวจภาคสนาม การสาธารณสุขทางไกล ความบันเทิง และท่อส่งข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อใช้ในการเข้าถึงการใช้งาน Cloud Computing ซึ่ง 5G ช่วยพัฒนาศักยภาพของระบบค้าปลีก การซื้อของออนไลน์ รวมถึงการใช้งานต่างๆ ของออฟฟิศอัจฉริยะ (Smart Office) และนำไปสู่ระบบเมืองอัจฉริยะ (Smart Cities) ในอนาคต

5G เหนือกว่า 4G อย่างไร?

1. ตอบสนองไวกว่า

ถ้าเราใช้ 4G สั่งงานควบคุมสิ่งต่างๆได้เร็วที่ 20 – 30 ms (Milli-second คือ 1:1,000 วินาที) แต่ถ้าใช้ 5G จะเร็วขึ้น 10 เท่า จะสั่งงาน IoT หรือสมาร์ทดีไวซ์ได้เร็วจริงถึง 3-4ms

2. รับส่งข้อมูลได้มากกว่า 4G

ถ้า 4G รับส่งข้อมูลต่อเดือนได้แค่ 7.2 Exabytes 5G จะทำให้เรารับส่งข้อมูลได้เพิ่มขึ้น  7 เท่า คือ 50 Exabytes ต่อเดือน

3. มีความถี่สำหรับใช้งานมากกว่า

ตอนใช้ 4G มีให้ใช้ถึงแค่ 3GHz แต่ถ้าเป็น 5G เราใช้งานคลื่นความถี่ได้ถึง 30GHz

4. รับรองการใช้งานในแต่ละพื้นที่ได้มากกว่า

ถ้า 4G รับคนได้ราว 1 แสนคนต่อพื้นที่ 1 ตร.กม. 5G จะรับได้ 10 เท่าคือรับได้ 1 ล้านคนต่อพื้นที่ 1 ตร.กม.

5. ถ่ายโอนข้อมูลต่อวินาทีได้เยอะกว่า

ถ้า 4G โอนข้อมูลเข้าเครื่องได้แค่ 1 GB ต่อวินาที 5G จะทำได้ถึง 20 GB ต่อวินาทีหรือ 20 เท่าของ 4G

5G ส่งผลต่อชีวิตประจำวันของเราอย่างไร?

    แน่นอนว่าถ้ามี 5G จะทำให้เราดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมส์ เปิดเว็บไซต์บนมือถือได้เร็ว ไม่มีสะดุด แม้แต่วีดีโอที่มีความละเอียดสูงๆ แต่ประโยชน์ของ 5G มันไม่ได้หยุดอยู่แค่นั้นน่ะสิ เพราะว่าในอนาคต ถ้ามี IoT เราจะได้เห็นการทำงานของสมาร์ทดีไวซ์ที่มากกว่าแค่สมาร์ทโฟน สมาร์ทดีไวซ์ที่เชื่อมต่อกันผ่าน 5G ก็จะส่งข้อมูลหากันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นหรือจะเป็นเรื่องของรถยนต์ไร้คนขับ (Driverless Car) ที่ในอนาคตอาจจะสามารถโต้ตอบกับรถอีกคันและถนน (Smart Road) ผ่านเซนเซอร์ที่ติดตั้งไว้ และมี 5G โอนข้อมูลหากัน ซึ่งช่วยลดอุบัติเหตุได้ด้วย ซึ่งถ้ายังใช้ 4G มีหวังกว่าจะรับส่งข้อมูลหากันได้ ก็อาจจะไม่ทันแจ้งเตือนอุบัติเหตุได้

   ยุค6G



        6G คือ เทคโนโลยีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแห่งโลกอนาคตโดยแท้จริง เพราะเรียนรู้ที่จะเคลื่อนที่ได้เองวิเคราะห์และแก้ปัญหาได้เอง จากการสืบค้นข้อมูลอย่างรวดเร็ว โดยในยุค 6g นั้นจะเป็นยุคที่การสื่อสาร ได้รับการแก้ไขในเรื่องคลื่นรวมทั้งการนำเทคโนโลยี AI เข้ามาผสมผสาน สำหรับความน่าสนใจอีกประการหนึ่ง ก็คือ เมื่อระบบ AI นั้นทำงานผ่าน Application ไปได้สักพักหนึ่ง มันก็จะเริ่มเกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเอง เช่น เรียนรู้เรื่องการขับยานพาหนะ, เรียนรู้เรื่องการทำการเกษตรและเมื่อมันสะสมความรู้ได้มากพอหลังจากนั้นก็จะเกิดการตัดสินใจได้ด้วยตัวเองตามมา

คาดว่าเทคโนโลยี 6G จะสามารถให้บริการในเชิงพาณิชย์ได้อย่างเร็วที่สุดในปี 2030

    ถึงแม้เทคโนโลยี 6G ยังอยู่อีกยาวไกล แต่ 5G กำลังจะมาถึงในไม่ช้านี้ คาดว่าผู้ให้บริการในประเทศจีน จะได้รับใบอนุญาต 5G ก่อนสิ้นปี 2018 และจะสามารถให้บริการในเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2019 นั่นหมายถึงสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์ที่รองรับ 5G จะเริ่มเปิดตัวในปีหน้าด้วย


     


IoT (Internet of Thing)




    IoT คือ การที่อุปกรณ์ต่างๆ สามารถทำงานเชื่อมต่อกันอย่างอัจฉริยะผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สามารถทำงานร่วมกับสมาร์ทโฟนและเซ็นเซอร์ที่คอยตรวจจับสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัว ลองมาดูตัวอย่างกัน

  • การเปิด-ปิดไฟอัตโนมัติ โดยตรวจจับความมืดและความสว่าง
  • รถยนต์คุยกัน หากรถยนต์มีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต เมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น รถยนต์ก็สามารถแจ้งเตือนผู้ขับขี่ให้หลีกเลี่ยงเส้นทางนั้นได้ หรือถ้าล้ำไปอีก ในกรณีที่รถยนต์ขับเคลื่อนด้วยตัวเอง ก็จะหลบหลีกเส้นทางที่มีอุบัติเหตุอัตโนมัติ
  • การตรวจจับพยากรณ์อากาศ เช่น ราวตากผ้าอัจฉริยะ ที่สามารถรับรู้ข้อมูลพยากรณ์อากาศ หากมีฝนตก ราวตากผ้าจะทำการเคลื่อนที่ไปยังที่ร่มทันที
  • กล้อง CCTV ที่สามารถตรวจจับสิ่งผิดปกติได้ ถึงแม้จะอยู่ในที่มืด เมื่อมีความผิดปกติเกิดขึ้น ระบบก็จะส่งข้อมูลไปยังสมาร์ทโฟน เพื่อแจ้งให้ผู้ใช้ทราบ
งานหลักของ IoT ที่เรารู้จักกัน มีพื้นฐาน 5 ขั้น

1 Sense – ตรวจจับรับสัญญาณด้วยเซนเซอร์

2 Transmit – รับส่งข้อมูลกับเครือข่าย

3 Store – เก็บข้อมูล

4 Analyze – วิเคราะห์ข้อมูล

5 Act – ตัดสินใจดำเนินการบางอย่าง


AI (Artificial Intelligence) หรือระบบปัญญาประดิษฐ์



    ในภาษาไทยเราเรียก AI ว่าปัญญาประดิษฐ์ เป็นเทคโนโลยีที่สามารถเรียนรู้และวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ได้ด้วยตนเอง ถ้าใครเคยชมภาพยนต์เรื่อง Iron Man ก็คงจะเห็น Javis ที่เป็นคอมพิวเตอร์ผู้ช่วยของ Tony Strak เจ้าสิ่งนั้นก็เรียกว่า AI เช่นกัน ซึ่ง AI จะนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อพัฒนาตนเองให้ฉลาดขึ้น จำลองให้ฉลาดเทียบเท่ากับสมองมนุษย์มากที่สุด ซึ่งบางครั้งอาจจะฉลาดกว่ามนุษย์เสียด้วยซ้ำ ตัวอย่างดังนี้

  • ผู้ช่วยสั่งการด้วยเสียง เช่น Apple Siri ใน iOS, Google Assistant, Amazon Alexa, Microsoft Cortana รวมถึง LINE Clova เป็นต้น สามารถโต้ตอบ จดจำและเรียนรู้พฤติกรรมของผู้ใช้
  • ทางด้านการแพทย์ มีการพัฒนา AI มาช่วยในการวิเคราะห์การรักษาโรงมะเร็ง โดยวินิจฉัยและเอ็กซเรย์โรคมะเร็งปอด ช่วยให้การวินิจฉัยแม่นยำมากขึ้น
  • ธุรกิจธนาคารที่ใช้หุ่นยนต์ AI ในการตอบคำถามหรือให้คำปรึกษากับลูกค้า โดยวิเคราะห์จากข้อมูลพฤติกรรมกับโต้ตอบของลูกค้า และช่วยเหลือได้อย่างถูกต้อง

AI และ IoT สามารถทำงานร่วมกันได้

    หลังจากที่ได้ทราบความหมายและตัวอย่างเบื้องต้นของทั้ง 2 เทคโนโลยีกันแล้ว สังเกตได้ว่า IoT และ AI จะมีการทำงานร่วมกับอุปกรณ์เหมือนกัน แต่หลักการทำงานต่างกันชัดเจน แต่หากนำเทคโนโลยีทั้ง 2 มารวมกันแล้ว จะทำให้อุปกรณ์มีความฉลาดแบบสมบูรณ์แบบ เพราะนอกจากจะตรวจจับสิ่งต่างๆ ได้แล้ว ยังสามารถเรียนรู้และวิเคราะห์ได้อีกด้วย

    เห็นได้ว่า ทั้ง IoT และ AI เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น เนื่องจากการพัฒนาทั้ง 2 สิ่งนี้จะช่วยในเรื่องของความปลอดภัยและความสะดวกสบายของมนุษย์มากขึ้น รวมถึงในภาคอุตสาหกรรมก็จะช่วยเพิ่มความรวดเร็วและแม่นยำในด้านการผลิต เพิ่มโอกาสในการขยายธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น

 ที่มา:https://www.iphonemod.net/how-difference-between-ai-and-iot.html